7-32110-005-114/10
ชื่อพื้นเมือง ผักเสี้ยนผี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscose Linn.
ชื่อวงศ์ CAPPARACEAE
ชื่อสามัญ Wild Spider flower, Phak sian phee.
ประโยชน์ ต้นใช้บำรุงยาแก้ฝีในปอด แก้ขับหนองในร่างกาย ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวนำมาบดกับเกลือ ทาแก้ปวดหลัง และ แก้ปัสสาวะพิการ รากแก้โรคผอมแห้งของสัตว์ รากผสมกับเมล็ดเป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน
ลักษณะวิสัย ไม้ล้มลุก
ลักษณะเด่น     ไม้ล้มลุก ทรงพุ่มรูปร่ม สูง 0.3 เมตร  กว้าง 0.25 เมตร  พืชบก  ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ สีเขียว เรียบมีขน มียางสีขาวใส  ใบประกอบขนนกชั้นเดียว สีเขียว กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร  ใบย่อย 3-7 ใบ กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร ด้านท้องใบมีขนอ่อนสีขาวนวลปกคลุม เรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก  แผ่นใบรูปหอกกลับ ปลายใบติ่งหนาม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่  ดอกเดี่ยว ปลายยอด แยกจากกัน 4 กลีบ สีเขียว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ 20 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน กลิ่นเหม็น ผลเดี่ยว แห้ง ฝักแบบถั่ว 
บริเวณที่พบ แปลงย่อยที่ 2.3.1
ผู้ชม : 2754 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก
ผล
ผล